พฤติกรรมอัตโนมัติ และพฤติกรรมที่อาศัยการรับรู้อารมณ์ ของ ประสาทสัมพันธ์แห่งการรับรู้อารมณ์

ปฏิกิริยาหลายอย่างของสมองต่อตัวกระตุ้นทางประสาทสัมผัส รวดเร็ว เล็กน้อย ตายตัว และไม่ประกอบด้วยการรับรู้อารมณ์[39] ปฏิกิริยาเหล่านี้ สามารถพิจารณาได้ว่าเป็นรีเฟล็กซ์ของคอร์เทกซ์ และมีลักษณะเฉพาะคือการตอบสนองที่รวดเร็วและค่อนข้างตายตัว ที่ปรากฏเป็นพฤติกรรมอัตโนมัติที่ค่อนข้างซับซ้อน เห็นตัวอย่างได้ในการชักแบบจำกัดแต่ซับซ้อนในคนไข้โรคลมชัก การตอบสนองอัตโนมัติที่ไม่มีการรู้อารมณ์เหล่านี้ ซึ่งบางครั้งเรียกกันว่า พฤติกรรมซอมบี้ (zombie behaviors)[40] ต่างจากการตอบสนองด้วยการรับรู้อารมณ์ซึ่งช้ากว่า ซึ่งเป็นการตอบสนองอย่างช้า ๆ ต่อตัวกระตุ้นทางประสาทสัมผัส (หรือต่อการคำนึงถึงอารมณ์ทางประสาทสัมผัสเหล่านั้น เช่นการคำนึงถึงมโนภาพ) ที่ไม่จำกัด ไม่ตายตัว และใช้เวลาในการคิดและการตอบสนองที่เหมาะสม ถ้ามนุษย์ไม่มีแบบของการรับรู้อารมณ์เช่นนี้ ก็จะต้องมีพฤติกรรมซอมบี้จำนวนมหาศาล เพื่อที่จะตอบสนองต่อตัวกระตุ้นทางประสาทสัมผัสต่าง ๆ กันที่มีเป็นจำนวนมหาศาล

ลักษณะอย่างหนึ่งที่ทำให้มนุษย์แตกต่างจากสัตว์อื่น ๆ โดยมาก คือ เราไม่ได้เกิดมาพร้อมกับคลังโปรแกรมพฤติกรรรมขนาดใหญ่ ที่จะให้เราเกิดมาพร้อมที่จะดำรงชีวิตได้ด้วยตนเอง เพื่อที่จะทดแทนความไม่สมบูรณ์นี้ เรามีความสามารถที่เปรียบมิได้ในการเรียนรู้ คือ สามารถเรียนรู้พฤติกรรมใหม่ ๆ โดยลอกเลียนแบบจากสัตว์อื่นหรือโดยสร้างโปรแกรมพฤติกรรมขึ้นมาใหม่ เมื่อได้เรียนรู้และมีการฝึกหัดพอสมควรแล้ว พฤติกรรมใหม่ ๆ ที่เกิดจากการเรียนรู้และการฝึกหัดเหล่านั้น สามารถเปลี่ยนเป็นพฤติกรรมอัตโนมัติ จนกระทั่งว่า พฤติกรรมเหล่านั้น เกิดขึ้นนอกเหนือจากการรับรู้ของเรา ตัวอย่างเช่น ทักษะอันละเอียดอ่อนในการเล่นโซนาตาเปียโน[41]ของเบโทเฟน หรือความประสานร่วมมือกันของประสาทสัมผัสและประสาทควบคุมการเคลื่อนไหว ที่จำเป็นในการขี่จักรยานยนต์บนถนนคดเคี้ยวในหุบเขา พฤติกรรมซับซ้อนเหล่านี้เป็นไปได้ ก็เพราะมีโปรแกรมพฤติกรรมอัตโนมัติย่อย ๆ ที่เกี่ยวข้องจำนวนเพียงพอให้พฤติกรรมดำเนินไปได้ โดยอาศัยการควบคุมที่มีเจตนาเพียงเล็กน้อยหรือไม่มีเลย จริงอย่างนั้น การควบคุมที่มีเจตนาอาจจะเข้าไปขัดขวางโปรแกรมอัตโนมัติเหล่านี้เสียด้วยต่างหาก[42]

โดยมุมมองจากการวิวัฒนาการของสิ่งมีชีวิต (evolution) เป็นความเหมาะสมแล้วที่จะมีทั้งสองระบบ คือโปรแกรมพฤติกรรมอัตโนมัติที่สามารถดำเนินไปอย่างรวดเร็ว อย่างตายตัว และโดยอัตโนมัติ และมีระบบการตอบสนองที่ช้ากว่าบ้าง ที่เปิดโอกาสให้ใช้เวลาเพื่อที่จะคิดและวางแผนพฤติกรรมอันซับซ้อนยิ่งกว่า ประเด็นหลังนี่แหละ อาจจะเป็นบทบาทสำคัญของการรับรู้อารมณ์

พฤติกรรมอัตโนมัติ ใช้ทางสัญญาณด้านบน เป็นการส่งสัญญาณแบบเดินหน้า

ดูเหมือนว่าโปรแกรมซอมบี้ทางตาในคอร์เทกซ์ โดยหลักแล้ว ใช้ทางสัญญาณด้านบน (dorsal stream) ในคอร์เทกซ์กลีบข้าง[39] ถึงอย่างนั้นก็ดี ความเป็นไปในคอร์เทกซ์กลีบข้างซึ่งเป็นทางสัญญาณของโปรแกรมซอมบี้ สามารถมีผลต่อการรับรู้อารมณ์ โดยก่อให้เกิดการใส่ใจ (attentional effects) บนทางสัญญาณด้านล่างซึ่งเป็นทางสัญญาณของการรับรู้อารมณ์ ในบางกรณี ส่วนการรับรู้อารมณ์ทางตาโดยมาก อาศัยคอร์เทกซ์บริเวณสายตาขั้นแรก ๆ ที่ถัดจาก V1 และอาศัยทางสัญญาณด้านล่างโดยเฉพาะอย่างยิ่ง

การประมวลข้อมูลทางตาที่ดูเผิน ๆ เหมือนจะซับซ้อน เช่นการหาสัตว์ในภาพธรรมชาติที่ไม่มีระเบียบ สามารถทำได้โดยคอร์เทกซ์ของมนุษย์ภายใน 130-150 มิลลิวินาที[43][44] ซึ่งเป็นเวลาน้อยเกินไปที่จะมีการเคลื่อนไหวของตาและเกิดการรับรู้อารมณ์ ยิ่งไปกว่านั้น รีเฟล็กซ์ต่าง ๆ เช่น oculovestibular reflex ดำเนินไปเร็วยิ่งกว่านั้น เป็นไปได้ว่า พฤติกรรมดังกล่าวนั้น เกิดขึ้นอาศัยคลื่นศักยะงานที่เป็นการส่งสัญญาณเดินหน้า (forward projection) เท่านั้น ส่งจากจอประสาทตาผ่าน V1, เข้าไปยังเขตสายตา V4, คอร์เทกซ์ขมับด้านล่าง และคอร์เทกซ์กลีบหน้าผากส่วนหน้า, จนกระทั่งสัญญาณนั้นส่งผลต่อเซลล์ประสาทสั่งการ (motor neuron) ซึ่งอยู่ในไขสันหลังที่ควบคุมการกดนิ้ว (เช่นการใช้นิ้วกดปุ่มในการทดลองทั่ว ๆ ไป) ข้อสันนิษฐานว่า การประมวลข้อมูลสายตาขั้นพื้นฐานในคอร์เทกซ์เป็นการส่งสัญญาณเดินหน้า ได้รับการสนับสนุนโดยตรงจากข้อมูลนี้ว่า เซลล์ประสาทของคอร์เทกซ์ขมับด้านล่าง มีการตอบสนองบางอย่างภายในเวลาสั้น ๆ (ประมาณ 100 มิลลิวินาที) หลังจากที่ตัวกระตุ้นภายนอกปรากฏ[45]

พฤติกรรมที่อาศัยการรับรู้อารมณ์ ใช้ทางสัญญาณด้านล่าง เป็นการส่งสัญญาณแบบป้อนกลับ

โดยนัยตรงกันข้าม เป็นที่เชื่อกันว่า การรับรู้อารมณ์ต้องมีการยิงสัญญาณของเซลล์ประสาทที่คงที่ และต้องอาศัยการส่งสัญญาณแบบป้อนกลับ น่าจะโดยการป้อนกลับทั้งระบบ (global feedback) จากบริเวณด้านหน้าของคอร์เทกซ์ใหม่ กลับไปยังบริเวณคอร์เทกซ์ประสาทสัมผัสด้านหลัง เป็นสัญญาณป้อนกลับที่เพิ่มกำลังขึ้นเรื่อย ๆ จนกระทั่งเกินระดับขีดเริ่มเปลี่ยนที่วิกฤติ (critical threshold)[24] เมื่อถึงจุดนี้ การส่งสัญญาณของเซลล์ประสาทที่คงที่ จะแพร่กระจายไปอย่างรวดเร็วสู่บริเวณต่าง ๆ คือ

ซึ่งล้วนแต่เป็นระบบที่อำนวย

  • ความจำระยะสั้น
  • การประมวลสัญญาณจากหลายประสาทสัมผัส (multi-modality integration)
  • การวางแผน
  • การพูด
  • การดำเนินการอื่น ๆ ที่สัมพันธ์อย่างลึกซึ้งกับการรับรู้อารมณ์

การแข่งขันกันของการส่งสัญญาณของเซลล์ประสาท ป้องกันไม่ให้อารมณ์มากกว่าหนึ่ง หรือมากกว่าหนึ่งแต่ก็ยังจำนวนน้อย ปรากฏเป็นอารมณ์ที่มีการรับรู้พร้อม ๆ กัน[46][47]

โดยย่อแล้ว แม้ว่าการส่งสัญญาณของเซลล์ประสาทที่รวดเร็วแต่ชั่วคราวในระบบของทาลามัสและคอร์เทกซ์ สามารถทำให้เกิดพฤติกรรมซับซ้อนที่ไม่ประกอบด้วยการรับรู้อารมณ์ แต่ก็คาดว่า การรับรู้อารมณ์ต้องมีการส่งสัญญาณของเซลล์ประสาทที่คงที่และมีการประสานร่วมกันเป็นอย่างดี ซึ่งอาศัยสัญญาณป้อนกลับที่ยิงเป็นระยะยาวจากคอร์เทกซ์สู่คอร์เทกซ์

ใกล้เคียง

ประสาทสัมผัส ประสาร ไตรรัตน์วรกุล ประสาทสัมพันธ์แห่งการรับรู้อารมณ์ ประสาทหลอนเสียงดนตรี ประสาทสมอง ประสาทวิทยาศาสตร์ ประสาท ตันประเสริฐ ประสาท สืบค้า ประสาน ศิลป์จารุ ประสาทกายวิภาคศาสตร์

แหล่งที่มา

WikiPedia: ประสาทสัมพันธ์แห่งการรับรู้อารมณ์ http://books.google.com/books?id=7L9qAAAAMAAJ http://books.google.com/books?id=PFnRwWXzypgC http://www-physics.lbl.gov/~stapp/PTB6.pdf http://consc.net/papers/ncc2.html http://brain.oxfordjournals.org/content/124/7/1263... http://www.scholarpedia.org/article/Neuronal_corre... http://www.theswartzfoundation.org/papers/caltech/... http://th.wiktionary.org/wiki/%E0%B8%AD%E0%B8%B2%E...